Carbon Footprint เป้าหมายสำคัญของธุรกิจ

ในยุคปัจจุบันการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) กลายเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก เนื่องมาจากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ในการใช้ชีวิตประจำวัน การคมนาคมขนส่ง การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น (ที่มา The Nature Conservancy, Set Social Impact, TGO, Carbon Footprint)

ประเทศไทยมีเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ.2050 และมีเป้าหมายการปล่อยก๊าชเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ.2065 ภาครัฐได้มีการมอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดทำ “แนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)” โดยใช้กรณีศึกษาจากต่างประเทศเป็นแม่แบบ เช่น การจัดเก็บภาษีคาร์บอนบนพื้นฐานของสินค้า หรือการจัดเก็บบนพื้นฐานของกระบวนการผลิต (ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 21 ก.ค. 2567) และยังรวมไปถึงกิจกรรมการกระจายสินค้าและกิจกรรมการขนส่งสินค้าซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทาน

จากรายงานของสำนักงานนโยบายและแผนพลังาน (สพน.) เผยว่าประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในปี 2566 สูงถึง 243.6 ล้าน tCO2 โดยเกิดจากการผลิตไฟฟ้า 89.6 tCO2 ภาคการขนส่ง 81.6 tCO2 กลุ่มอุตสาหกรรม 59.2 tCO2 และอื่นๆ 13.2 tCO2 (ที่มา รายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการจัดการพลังงานปี 2566) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการลด การปล่อยยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกิจกรรมต่างๆ หรือกระบวนการเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญ อันได้แก่

  • การบริหารคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนจัดเก็บสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในการควบคุมอุณหภูมิและแสงสว่างในคลังสินค้า การใช้พลังงานทดแทน อาทิเช่น การใช้พลังงานโซล่าเซลล์ เป็นต้น การจัดการสต็อกสินค้า การควบคุมระดับสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยลดการสูญเสียสินค้า และลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าใหม่ทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต
  • การบรรจุหีบห่อและการติดฉลากที่ยั่งยืน คือการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้หรือรีไซเคิลได้ ช่วยลดปริมาณขยะและการใช้พลังงานในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ใหม่ การลดขนาดบรรจุภัณฑ์ให้น้อยลงเพื่อลด การใช้วัสดุและพื้นที่ในการขนส่ง
  • การขนส่งสินค้าและการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยการเลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสมสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดน้อยลง เช่น การใช้รถบรรทุกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาดแทนรถบรรทุกที่ใช้น้ำมัน การใช้เรือแทนเครื่องบินสำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่เร่งด่วน เป็นต้น

(ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 21 ก.ค. 2567)

  • การขนส่งสินค้าและการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยการเลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสมสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดน้อยลง เช่น การใช้รถบรรทุกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาดแทนรถบรรทุกที่ใช้น้ำมัน การใช้เรือแทนเครื่องบินสำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่เร่งด่วน เป็นต้น
  • การวางแผนเส้นทางการขนส่ง ที่มีประสิทธิภาพเพื่อประหยัดเวลาและเชื้อเพลิง ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากยานพาหนะ การใช้เทคโนโลยี GPS ในการวางแผนเส้นทางและติดตามสถานะการขนส่ง
  • การใช้เทคโนโลยีในการติดตามและตรวจสอบการขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดระยะทางที่ไม่จำเป็น และลดการใช้เชื้อเพลิง การใช้ระบบการจัดการการขนส่ง (Transportation Management System – TMS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดระยะทางที่ไม่จำเป็น และลดการใช้เชื้อเพลิง
  • การบำรุงรักษายานพาหนะให้อยู่ในสภาพดี ช่วยให้ยานพาหนะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์และยางรถอย่างสม่ำเสมอ

โดยจะเห็นได้ว่ากิจกรรมการกระจายสินค้าและกิจกรรมการขนส่งสินค้า มีบทบาทสำคัญในการลด การปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เช่น การจัดการคลังสินค้าและสต็อกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน การเลือกวิธีการขนส่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย การวางแผนเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และการบำรุงรักษายานพาหนะเป็นอย่างดีถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมเหล่านี้ 

หากท่านต้องการปรับปรุงกระบวนการกระจายสินค้าและการขนส่งสินค้าให้มีความยั่งยืน ไม่เพียงท่านจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนให้กับธุรกิจของท่านใน ระยะยาว กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงขอเชิญท่านเข้าร่วมกิจกรรม “การกระจายสินค้าของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมตามแนวทาง BCG Model” ซึ่งอยู่ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด BCG Model (BCG-Driven Enterprise)

โดยรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 นี้ทางลิ้งค์
https://forms.gle/eJ1Gr1g4HBFeJimu5 และทำการแจ้งผลการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกลับทางอีเมล์

ภายใต้กิจกรรมดังกล่าว ไม่เพียงแต่บริษัทจะลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในกิจการแล้ว ยังจะได้รับการประเมิน คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) เพื่อนำไปสู่การยื่นทวนสอบและขอการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้อีกด้วย

นอกจากนี้องค์กรของท่านจะได้รับองค์ความรู้จาก การเข้าร่วมสัมมนาและพิธีเปิดโครงการในวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2567 (ภาคกลาง) ณ โรงแรม รอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ (ติดกับสะพานซังฮี้) , ภาคเหนือ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ และ ภาคอีสาน ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด

กิจกรรมการศึกษาดูงานองค์กรที่ได้รับการรับรองการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 1 วัน กิจกรรมการวินิจฉัยกิจการ การฝึกอบรมเฉพาะราย (In-house Training) 2 วัน และกิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการจัดการโลจิสติกส์และการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร เป็นระยะเวลากว่า 15 วัน

สอบถามรายละเอียดโครงการดังกล่าวได้ที่ คุณรวีธนัทณ์ วโรตม์สุพรรณ (091-499-9596)

Web_BCG03

จัดทำโดย ดร.คำนาย อภิปรัชญากุล และ ผศ.ดร.พิเชฐ พุ่มเกษร
บริษัท โลจิสติกส์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ร่วมกับ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

Categories:

Tags:

Comments are closed