AI กับ อนาคตธุรกิจโลจิสติกส์
หากพูดถึง AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ หลายคนอาจจะยังรู้สึกว่ามันคือ เรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของอนาคต ที่ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะมาถึง
แต่โลกปัจจุบันนี้ เราได้เห็น หุ่นแปลภาษา ที่ใช้สื่อสารภาษาต่างประเทศกันแบบไม่ต้องใช้ล่าม หรือแม้แต่การขับรถที่คนขับรถสามารถหลับได้ตลอดทางและตื่นมาถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย
ดังนั้น การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในด้านของโลจิสติกส์ (Logistics) จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การคาดการณ์ความต้องการในตลาด การพยากรณ์สร้างแผนการจัดซื้อ การเลือกเส้นทางขนส่งสินค้าที่ประหยัด หรือ การจัดการสินค้าคงคลังให้เกิดกำไร เป็นต้น และที่สำคัญส่งผลโดยตรงกับการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกิจกรรมโลจิสติกส์ในธุรกิจได้อีกด้วย
ระบบอัตโนมัติ กับ AI เหมือนหรือแตกต่าง อย่างไร
ก่อนอื่นทำความเข้าใจระหว่าง AI กับ ระบบอัตโนมัติกันก่อน เพราะหลายคนเข้าใจว่า มันเป็นเรื่องเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ได้เหมือนกันเสียเลยทีเดียว
ถ้า AI เปรียบเหมือน “สมอง” ระบบอัตโนมัติก็คงเปรียบได้กับ “แขน-ขา” เพราะหากสมองไม่สั่ง แขน-ขาก็ยังขยับไม่ได้
ในอดีต เรามักเรียกอุปกรณ์ที่เป็น แขน-ขา เหล่านี้ว่า “เครื่องจักร” เพราะยังต้องอาศัยมนุษย์เข้ามา Input หรือ สั่งให้มันทำงาน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ของมนุษย์คนนั้นมาทำให้ระบบเกิดประสิทธิภาพ
แต่ทุกวันนี้ เครื่องจักรเหล่านั้น เริ่มใช้ AI ที่ใหม่กว่า เร็วกว่า ชัดเจนกว่า มีข้อมูลมากกว่า มาควบคุมมัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามนุษย์จะหมดความสำคัญในกิจกรรมโลจิสติกส์
ธุรกิจโลจิสติกส์ เริ่มมีการใช้งาน AI กันแล้วหรือยัง
ผลการสำรวจ Global AI Survey: AI proves its worth, but few scale impact ของ McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี AI ในแวดงธุรกิจต่างๆ เมื่อปี พ.ศ.2565 พบว่า ผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถาม 44% ระบุว่า AI ช่วยลดต้นทุน และ 63% บอกว่า ช่วยสร้างรายรับให้กับบริษัทเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น
การใช้เทคโนโลยีกับการขนส่ง โดยเฉพาะโปรแกรม GPS Tracking ที่นิยมใช้การ API กับฐานข้อมูลของ Google Map ทำให้ได้รู้ข้อมูลของเส้นทางขนส่ง สามารถนำมากำหนดระยะทาง แล้ววางแผนเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ประหยัดที่สุด และเร็วที่สุด นอกจากนั้นยังสามารถจัดการขนส่งสินค้าเที่ยวกลับได้
การใช้เทคโนโลยีกับการงานคลังสินค้า มีโปรแกรมที่นิยมคือระบบ Warehouse Management System (WMS) เป็นระบบที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับรู้ข้อมูลเข้า-ออกของสินค้า ตำแหน่งการจัดวางสินค้า รอบการหยิบ-ใช้สินค้า เป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารสินค้าคงคลัง ที่ล้วนเป็นต้นทุนจม ให้สามารถตัดสินใจได้ชัดเจนขึ้น
ณ เวลาปัจจุบัน AI ได้เข้ามาช่วยเราคิด และตัดสินใจ ในกิจกรรมบางอย่างได้เองโดยที่ “ไม่ต้องพึ่งเรา” และ
ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้เห็น รถขนส่งที่ไม่ต้องมีคนขับ มีแค่เด็กติดรถ ที่ไม่ได้มีหน้าที่ออกแรงลงของ แต่จะทำหน้าที่ตัดสินใจร่วมกับ AI ให้ลงสินค้าในโกดัง เชื่อมระบบสั่งการระหว่างระบบการจัดเก็บในโกดังของลูกค้า กับ ข้อมูลสินค้าในรถขนส่ง ทำให้ประหยัดค่าแรง ประหยัดค่าลงสินค้า และประหยัดเวลา
การปรับตัวและประยุกต์ใช้ AI ในธุรกิจ
การพัฒนา AI เป็นหน้าที่ของบริษัท Software ต่าง ๆ แต่เราในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จาก AI คงต้องเตรียมตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
บริษัทที่ต้องการนำเทคโนโลยี หรือ AI มาใช้งาน มักจะคาดหวังผลลัพธ์ให้เหมือนที่บริษัทอื่น ๆ ที่เคยใช้กันมาแล้ว และหวังผลในเวลาอันรวดเร็ว แต่ความจริงแล้ว ในขั้นตอนของการดำเนินการ (Implement) นั้น เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายและต้องใช้เวลามาก กว่าผลลัพธ์ที่ได้จาก AI บริษัทจะต้องจัดเตรียมปัจจัยหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ โครงสร้าง (Structure) ข้อมูล (Information) และ ทรัพยากร (Resource)
ในมุมของพนักงานก็จะกลัวว่า AI จะเข้ามาทำงานแทนคน เพราะการลดคนแล้วนำเอาเทคโนโลยีมาแทน เกิดประสิทธิภาพที่ดีกว่าและแน่นอนว่า แต่การมาของ AI เป็นทั้งโอกาส และความท้าทายของพนักงานที่ถือว่าเป็นทรัพยากรสำคัญของบริษัทที่ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจ
ไม่ต้องไปมองว่าจุดอ่อนของ AI คืออะไร และมองหาจุดแข็งที่จะเข้าไปแข่งกับ AI … แต่อยากแนะนำว่า เราควรมองหาวิธีที่จะได้ทำงานร่วมกันกับ AI ดีกว่า
ลองคิดดูว่า ปัจจุบันนี้เรามีรถบรรทุกมากมาย เต็มท้องถนน ที่มาทดแทน “เกวียน” ในสมัยก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่า คนขับเกวียนจะหายไป เพียงแค่ “คนขับ
Comments are closed